วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โครงการ TO BE NUMBER ONE




โครงการ TO BE NUMBER ONE คืออะไร
. . . . . . .โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา ศิริวัฒนาพรรณวดี เป็นองค์ประธาน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1. การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน

3. การพัฒนาทักษะชีวิตและเครือข่ายป้องกันและช่วยเหลือ

ตัวอย่างโครงการ TO BE NUMBER ONE
1. การสมัครสมาชิก ชมรม TO BE NUMBER ONE นักเรียน/นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สนใจสมัครสมาชิกได้ที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

2. สมาชิกมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE ได้ทุกกิจกรรม

3. หน้าที่ของสมาชิก

3.1 เป็นแกนนำในการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างเครือข่ายสมาชิกในการต่อต้านยาเสพติดให้กว้างขวางมากขึ้น

3.2 สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมในการต่อต้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

3.3 ร่วมสอดส่องดูแลถึงเพื่อนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงให้ห่างไกลยาเสพติดหรือหากพบที่เป็นกลุ่มเสพที่แจ้งเบาะแสแก่ ครู อาจารย์

3.4 ทำหน้าที่คอย “ ปรับทุกข์-ผูกมิตร ” กับเพื่อนที่ติดยาเสพติดและกลับตัวเป็นคนดีเพื่อให้ก้าวสู่สังคมได้อย่างมั่นใจ

4. กิจกรรมในชมรมมีอะไรบ้าง

. . . . . กิจกรรมในชมรม คือ กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมและดูแลช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิกในลักษณะ เพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้สมาชิกได้รับประสบการณ์เพิ่มพูนทักษะจากการฝึกแก้ปัญหา และพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยมีแนวคิด “ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ ”

ตัวอย่างกิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ในปี 2550 มีกิจกรรม ดังนี้

4.1 กิจกรรมจัดตั้งอุปกรณ์ประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น

4.2 กิจกรรม ประชุม ปรึกษาหารือ การดำเนินกิจกรรมเดือนละ 2 ครั้ง

4.3 กิจกรรมเว็บบอร์ดปรับทุกข์

4.4 กิจกรรมมุมเพื่อนรัก

4.5 กิจกรรมออกเสียงตามสาย วันละ 5 นาที ( ประชาสัมพันธ์สร้างกระแสไม่ยุ่งเกี่ยวสารเสพติด )

4.6 กิจกรรมเว็บบอร์ดเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง

4.7 กิจกรรม TO BE NUMBER ONE สร้างสรรค์สังคม
โครงการคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวงฯ การประกวดละครสั้น ( Mini Series ) ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัย แลพความเป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด

4.8 กิจกรรม “ ต้นไม้แห่งชีวิต ”

4.9 กิจกรรมขยายผล TO BE NUMBER ONE ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคเหนือ ประจำปี 2550 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

4.9.1 แจกแผ่นพับความรู้ ต่อต้าน เฝ้าระวังสารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยง

4.9.2 โน้มน้าว เข้าใจ สดใส ได้สมาชิกใหม่ ร่วมรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด

4.9.3 ร้องเล่น เต้นรำ นำสุข เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ TO BE NUMBER ONE

4.10 กิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพ ความเป็นผู้นำ TO BE NUMBER ONE

4.11 กิจกรรม สร้างสุข ดูหนัง ฟังเพลง

4.12 กิจกรรม ประกวด T.N. Dancing Contest

4.13 กิจกรรมฟุตซอลต้านสารเสพติด

4.14 กิจกรรมประกวดร้องเพลง TO BE NUMBER ONE ( หมู่/เดี่ยว )

- กิจกรรมประกวดวงดนตรี Folk Song

- กิจกรรมประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง

4.15 กิจกรรมประกวดวาดภาพ “ เป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด ”

4.16 กิจกรรม “ ธรรมสุขสันต์ ”

4.17 กิจกรรมประดวดแข่งขัน ทอล์กโชว์ “ เป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด ”

4.18 กิจกรรมประกวดคำขวัญ “ เป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด ”

5. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ มีบริการอะไร

ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นฯ ให้บริการโดย นักเรียนแกนนำและนักเรียนแกนนำเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ซึ่งมีบริการ ดังนี้

5.1 บริการให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการพูดคุยปัญหาต่างๆมีบริการ 2 ลักษณะ

5.1.1 บริการเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม โดยนักเรียนชมรม TO BE NUMBER ONE ประจำศูนย์ฯ และบริการปรึกษาทาง

5.1.2 บริการฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ

สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองมีบริการด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ

. . . การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยคอมพิวเตอร์จากคู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ทางระบบอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้สามารถศึกษาหรือประเมินตนเองจากแบบประเมินต่างๆ เช่น แบบประเมิน EQ แบบประเมินความเครียด ที่สมารถวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้ใช้บริการ ทราบผลได้ทันทีหรือจากจุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากผู้ใช้บริการยังไม่ค้นพบตัวเอง หรือค้นพบแนวทางการแก้ปัญหาในระบบที่พึงพอใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มซึงประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนา EQ และกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน โดยอาสาสมัครจะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม กิจกรรมดังกล่าวจะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักเพื่อนแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นได้พัฒนา EQ ของตนเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากยาเสพติด

5.1.3 บริการกิจกรรมเสริมทักษะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสุข เป็นบริการแนะนำ และฝึกกิจกรรมต่างๆตามความสนใจของเยาวชน โดยอาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ DJ และอื่นๆ เป็นต้น


6. แผนผังศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น โรงเรียนเตรียมอุมศึกษา ภาคเหนือ


7. สื่อและเทคโนโลยีประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
. . . . . สื่อและเทคโนโลยีประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นประกอบด้วย หนังสือคู่มือ และ CD ชุดเทคโนโลยีสำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเป็นความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่น และเป็นคู่มือการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

7.1 สะท้อนภาพวัยใส สะท้อนใจวัยทีน

7.2 เพื่อนช่วยเพื่อน

7.3 สานสายใยหัวใจรัก

7.4 สอนวัยรุ่นไม่วุ่นอย่างที่คิด

7.5 คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหา พัฒนา EQ

7.6 คู่มือการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชนในชุมชน


เว็บไซต์โครงการ TO BE NUMBER ONE

ที่มาและแหล่งอ้างอิงของยาเสพติด

http://region2.prd.go.th/drug/a3.htm
http://www.geocities.com/tamji_tave/index.htm
http://www.tn.ac.th/tobenumberone/to%20be/index4.htm

ภาพกิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติด

ภาพกิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติด




























สถานที่บำบัดยาเสพติด

สถานที่บำบัดผู้ที่ใช้สารเสพติด
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน
คลินิกและศูนย์บำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
โรงพยาบาลธัญญรักษ์ อ.ธัญบุรี ปทุมธานี กรมการแพทย์
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ อ.สัตหีบ ชลบุรี
ศูนย์เกิดใหม่ อ. สวนผึ้ง ราชบุรี โทร. 0-3226-1040
ศูนย์เกิดใหม่ อ.บางคล้า ฉะเชิงเทรา โทร. 0-3854-1693
ศูนย์ฟื้นฟูชีวิตผู้ติดยาเสพติด คอมมูนิต้าอินคอนโทร อ.ลำลูกา ปทุมธานี
โทร. 0-2563-1006-8

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด แม่ฮ่องสอน : หน่วยงานที่รักษาผู้ติดยาและสารเพติดทุกชนิด ตั้งอยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหน่วยงานของ กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
soberrecovery : แหล่งรวบรวมเว็บไซต์เกี่ยวกับการรักษายาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ในอเมริกา

(ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาผู้ติดสารเสพติด คลิกเชื่อมโยงเว็บที่ www.matrixthailand.com)
คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม 10300
โทร. 0-2243-2142 0-2668-9435

การบำบัดผู้ติดยาเสพติด

วัตถุประสงค์

-ช่วยเหลือสังคมหรือประเทศชาติ ด้วยการบำบัดหรือรักษาผู้ติดยาเสพติด ให้มีโอกาสเป็นพลเมืองดี มีประสิทธิภาพ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

-การช่วยเหลือนี้ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆเว้นแต่สมัครใจบริจาคทรัพย์ให้กับศูนย์ไม่มีเงื่อนไข

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไชสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดมีกระบวนการบำบัดอยู่ 3 ระบบคือ

• ระบบสมัครใจ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเลิกสามารถเข้ารับการบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน

• ระบบต้องโทษ คือ การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขัง ซึ่งจะต้องรับการบำบัดในสถานพยาบาลภายใต้ขอบเขต เช่น กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น

• ระบบบังคับ คือ การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดย ศูนย์ฟื้นฟุสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้บำบัดรักษา

ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

• ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

• สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยา

• การลงทะเบียนประวัติ

• แนะนำและชี้แจงวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์

• แนะนำและชักชวนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด

• ตรวจสุขภาพของผู้ติดยาเสพติด

• ขั้นตอนการรักษา เช่น การบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด เพื่อช่วยระงับความต้องการยา ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการถอนพิษตามสภาพร่างกายและชนิดของยาเสพติดที่ใช้ เพื่อรักษาอาการขาดยา และสภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ

• ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจะทำการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่ติดยาเสพติด โดยมีเจ้าหน้าที่บำบัดหลายๆฝ่ายร่วมกัน เช่น นักจิตวิทยา แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ครูอาชีวบำบัด เป็นต้น

• ขั้นตอนติดตามผล เป็นการติดตามผลดูแลผู้ที่เลิกยาหลังจากที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 3 มาแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาของผู้ที่ติดยาเสพติดไม่ให้หันกลับมาเสพอีก โดยวิธีการต่อไปนี้

• การติดตามผลทางตรง คือการพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรง

• การติดตามผลทางอ้อม คือการพูดคุยทางโทรศัพท์ จดหมายหรือผ่านบุคคลที่ 3

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยา

• การบำบัดรักษาทางร่างกาย มี 3 วิธี คือ

• การบำบัดแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นการบำบัดรักษาโดยใช้ยาอื่นแทนเพื่อถอนพิษ มีรูปแบบการบำบัดดังนี้

• ใช้ยาอื่นทดแทน เพื่อถอนพิษยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหมดความต้องการทางยาซึ่งยาที่จะเข้าไปแทนต้องเป็นยาที่ให้โทษน้อยกว่า

• การให้ยาเพื่อต้านฤทธิ์ยาเสพติด

• การรักษาเพื่อให้คงสภาพการติดยา เช่น การให้สารเสพติดแก่ผู้เสพ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ

• การบำบัดแบบการแพทย์แผนโบราณ มีรูปแบบการบำบัดรักษาดังนี้

• บำบัดรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร นิยมใช้ตามสำนักสงฆ์ โดยนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการล้างพิษโดยให้ผู้ป่วยดื่มซึ่งจะทำให้อาเจียนและถ่ายออกมา

• การฝังเข็ม เช่น การใช้หลักวิชาการแพทย์สมัยโบราณโดยใช้เข้มฝังตามจุดต่างๆของร่างการพร้อมทั้งต่อสายไฟและปล่อยกระแสอ่อนๆเข้าสู่ร่างกาย

• การบำบัดรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น

• การหักดิบ เป็นวิธีการที่ให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเลิกเสพยาโดยทันทีโดยไม่ต้องใช้ยาอื่นมาทดแทน ผู้เสพจะมีอาการเสี้ยนยาอย่างรุนแรงใน 5 วันแรก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้จะทำให้เข็ดไม่กล้ากลับมาเสพอีก

• การบำบัดโดยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากำลังต่ำตามจุดต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดการเลิกยาได้

• การบำบัดรักษาทางด้านจิตใจ มี 4 วิธี คือ

• วิธีจิตบำบัด เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ติดยาเสพติดมีสาเหตุจากด้านจิตใจ ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น ทำให้ผู้ติดยาสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีกต่อไป วิธีจิตบำบัดมี 3 รูปแบบคือ

• การให้คำปรึกษาเป็นการรายบุคคล

• การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม

• การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว

• วิธีบำบัดยาเสพติดโดยใช้ศาสนา เนื่องจากผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีปัญหาแก้ไขไม่ได้ จึงหันไปพึ่งยาเสพติด การนำหลักธรรมศาสนามาช่วยจะทำให้ผู้ที่เสพยาเสพติดมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น รู้จักแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

• วิธีการบำบัดรักษาแบบชุมชนบำบัด เป็นวิธีการบำบัดที่ทำให้ผู้ติดยาเสพติดหรือสมาชิกได้พัฒนาตนเอง โดยมีการจำลองครอบครัวขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่ติดยามีโอกาสปรับปรุงตนเองในสถานที่ที่มีความอบอุ่น การบำบัดแบบนี้มี 3 ขั้นตอน คือ

1. ระยะจูงใจ ใช้เวลา 30 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม

2. ระยะบำบัดรักษา ใช้เวลา 1- 11 เดือน หรือ 2 ปี คือ การให้ผู้ที่ติดยาเรียนรู้ความผิดและรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา

3. ระยะกลับเข้าสู้สังคม ใช้เวลา 3- 5 ปี เช่น การให้ผู้ตดยากลับไปใช้ชีวิตจริงในสังคม

• การบำบัดแบบชีวบำบัด การบำบัดวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ติดยาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการฝึกหัดอาชีพ

• การบำบัดรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ คือการบำบัดรักษาในรูปแบบของการทำค่ายบำบัด ดังนั้นผู้ที่ผ่านค่ายบำบัดจะต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนและวิธีการทำค่ายบำบัดรักษา

1. ประเมินสภาพปัญหาของผู้ติดยาที่จะเข้าค่ายบำบัด

2. บำบัดรักษาผู้ที่มีอาการถอนยา ตามสภาพปัญหาของผู้ติดยา

3. จัดให้มีการสอนและฝึกอบรมด้านวิชาชีพแก่ผู้ติดยา

4. จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อลดความเครียด

5. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มบำบัด เพื่อเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ

6. จัดให้มีกิจกรรมบำบัดรักษาและพัฒนาคุณค่าชีวิตทางด้านศาสนา เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ

7. จัดให้มีกิจกรรมอื่นๆที่เสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างการและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ การสร้างงานอดิเรก เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา

ค่าใช้จ่ายจะมากน้อยแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสถานพยาบาลและเวลาที่ใช้ในการรักษา ถ้าเป็นสถานพยาบาลของเอกชน ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเป็นสถานพยาบาลของรัฐจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่านี้ และมีหน่วยงานคอยช่วยเหลือผู้เข้าบำบัดรักษาตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตราที่ 1-18

พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตราที่ 1-18
บททั่วไป มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ. 2519"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ "ยาเสพติด" หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย "กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด[แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534] "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหมายความรวมถึงประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดด้วย "เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ "เจ้าพนักงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราช บัญญัตินี้

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการใดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือ เจ้าพนักงาน และของส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ ี่ของ ส่วนราชการที่มีอำนาจเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยและวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการและการประสานงาน

มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเรียกโดยย่อว่า "ป.ป.ส." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดี กรมศุลกากร อธิบดีกรมอัยการ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งไม่เกินหกคน และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา 6 กรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

มาตรา 7 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้ กรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งซ่อมหรือแต่งตั้งเพิ่ม อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ ของกรรมการอื่น

มาตรา 8 ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่ อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

มาตรา 9 การประชุมทุกครั้ง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาด ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการ ลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียง ชี้ขาด

มาตรา 10 คณะกรรมการจะตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้

มาตรา 11 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า "สำนักงาน ป.ป.ส." มีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไป ตามมติ ของคณะกรรมการ และปฏิบัติงานธุรการอื่น

มาตรา 12 ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ จะให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการก็ได้

มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(2) ควบคุมการสืบสวน สอบสวน และการฟ้องคดีความผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด
(3) วางโครงการและดำเนินการ ตลอดจนสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
(4) ควบคุม เร่งรัด และประสานงานการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจ หน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรืองาน แผนงาน หรือโครงการของส่วนราชการ ที่มีอำนาจหน้าที่ ในการ ปฏิบัติการตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด
(6) ประสานงานและกำกับการเกี่ยวกับการบำบัดรักษาตัวผู้ติดยาเสพติด
(7) พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพระราช บัญญัตินี้
(8) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ และกำหนด ให้สถานที่ ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใด ๆ เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว
(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ

มาตรา 13 ทวิ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจ ออกประกาศกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดใน สถานประกอบการและประกาศกำหนดให้สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใด ๆ เป็นสถาน ประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 13ตรี ในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจพบว่ามีการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการตาม

มาตรา 13ทวิ หากเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการ สถานประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์ให้คณะกรรมการเชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งปิดสถานประกอบการแห่งนั้น ชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการสำหรับการประกอบธุรกิจนั้น แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินครั้งละสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการนั้นทราบ คำสั่งในกรณีที่สถานประกอบการซึ่งถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการตามวรรคหนึ่งเป็นสถานประกอบการซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายอื่น ให้เลขาธิการแจ้งให้หน่วยงานซึ่งควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นทราบ และ ให้หน่วยงานดังกล่าวถือปฏิบัติตามนั้นการสั่งปิดชั่วคราวหรือการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ และการแจ้งให้ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการทราบตามวรรคหนึ่ง และการแจ้งให้หน่วยงาน ทราบตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา 14 เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลากลางวัน ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจค้น ยึดหรืออายัดยาเสพติดที่มีไว้โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจับกุมบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด แต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ บุคคลที่จะถูกจับได้หลบซ่อนอยู่ในเคหสถานหรือสถานที่นั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการในทันที ยาเสพติดนั้นจะถูกโยกย้ายหรือบุคคลที่หลบซ่อนอยู่จะหลบหนี ก็ให้ มีอำนาจเข้าไปในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตกได้
(2) ค้นเคหสถาน สถานที่ หรือบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติด ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยึดหรืออายัดยาเสพติดหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับมา เนื่องจากการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำ ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
(3) จับกุมบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(4) สอบสวนผู้ต้องหาในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(5) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใด ๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการ ใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการ พิจารณาเจ้าพนักงานตำแหน่งใดและระดับใด จะมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ตาม วรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกำหนดด้วยความเห็นชอบของ คณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายนั้นเจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเอกสารมอบหมายนั้น ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง

มาตรา 14 ทวิ ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลใดเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 15 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตาม มาตรา 14 ให้ถือว่ากรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจตาม มาตรา 14 (3) มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ทั่วราชอาณาจักร และให้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับตาม มาตรา 14 (3) ไว้เพื่อทำการสอบสวน ได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวหรือก่อนนั้นตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการ ต่อไป ทั้งนี้ โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15ทวิ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการผู้ใดฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศตาม มาตรา 13ทวิ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา 16 ผู้ใดไม่ให้ความสะดวก หรือไม่ให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใดแก่กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตาม มาตรา 14 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจหรือทดสอบตาม มาตรา 14ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทมาตรา 17 กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานผู้ใดกระทำ ความผิดใด ๆ ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเสียเอง ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่ กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

มาตรา 17ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้

มาตรา 18 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี อำนาจออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ยาเสพติดเป็นภัยอย่าง ร้ายแรงต่อการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะ ป้องกันและปราบปรามการค้าและการเสพยาเสพติดอย่างเข้มงวดกวดขัน ในการนี้จำเป็นต้อง มีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการและให้อำนาจในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามให้ได้ ผลโดยเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534

*หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การป้องกันและ ปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการดำเนินการเพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ สารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งการค้าและการเสพยาเสพติดในสถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจ สถานบริการเป็นจำนวนมาก จึงสมควรให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานประกอบการได้เป็นการ เฉพาะและให้มีอำนาจกำหนดว่าสถานประกอบการประเภทใดจะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการ ดังกล่าว หากพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการแห่งใด สมควร ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจสั่งปิดสถานประกอบการหรือสั่งพัก ใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการแห่งนั้นได้ชั่วคราว นอกจากนั้น เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรให้อำนาจกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานในการตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราช บัญญัตินี้


บทลงโทษของยาเสพติด






ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท


:::สารระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย :::


ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 กำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำสารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลายประการและกำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้



1. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสารระเหยต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าวผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



2. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่นซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



4. ห้ามไม่ให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่ายกายหรือจิตใจ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



5. ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พึงระลึกเสมอว่า การเสพติดสารระเหยนอกจากจะเป็นโทษต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย







ยาบ้าและแอมเฟตามิน




ยาอีและยาเค





ยาหลอนประสาท




กัญชา

อันตรายจากสารระเหย






ในปัจจุบัน ผู้ติดยาเสพติดได้หันไปหาตัวอื่นที่ราคาถูกกว่า หาได้ง่ายกว่า มาทดแทนผงขาว นั่นคือ "สารระเหย" ชนิดต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันเบนซิน น้ำมันไฟแช็ก น้ำมันก๊าด น้ำมันแล็กเกอร์ กาวชนิดต่าง ๆ น้ำมันชักเงา ยาทาเล็บ ตลอดจนสเปรย์ชนิดต่าง ๆ โดยหารู้ไม่ว่า เป็นการหนีเสือปะจระเข้ เพราะสารเสพติดแบบใหม่นี้ มีพิษร้ายแรงกว่าเฮโรอีนมากมายหลายสิบเท่า เพราะในขณะที่เฮโรอีนทำให้สุขภาพทั่วไปทุรดโทรมก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทิ้งความพิการถาวรไว้ให้แก่อวัยวะใด ๆ ในร่างกาย และหากเลิกเสพ พักฟื้นไม่นาน สุขภาพก็จะแข็งแรงกลับสู่สภาพปกติได้ แต่พวก "สารระเหย" นี้ หากเสพติดจนติด และเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดพยาธิสภาพที่ถาวร เป็นความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ปกติได้อีก เช่น มะเร็งในเลือด สมองพิการ ตับพิการ และที่ร้ายกว่านี้ คือพิการทางกรรมพันธุ์ด้วย คือ ไปทำให้โครโมโซม ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลาน และกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของประเทศชาติอย่างยิ่ง พวกนักโทษที่ถูกศาลตัดสินจำคุกในความผิดต่าง ๆ และเป็นผู้ติดเฮโรอีน เมื่ออยู่ในคุก ผงขาวก็ยิ่งหายาก และราคายิ่งแพงขึ้น เป็นที่ทราบกันว่า นักโทษพวกนี้จะแย่งกันไปทำงานแผนกช่างไม้ ช่างทาสี ช่างเครื่องยนต์ เพราะจะได้มีโอกาสได้ใกล้ชิด และใช้พวกน้ำมันระเหยพวกนี้ นอกจากนี้ ยังมีพวกเด็กนักเรียน มัธยมต้นและปลาย มีแนวโน้มว่า มีการเสพติดยานี้กันอย่างแพร่หลาย อายุเฉลี่ยระหว่าง 8-10 ปี มักจะเสพกันเป็นกลุ่มในวัด ห้องที่ลับตาคน โดยใช้สำลี ผ้าเช็ดหน้าหรือเสื้อยืด ชุบทินเนอร์จนชุ่ม แล้วสูดดมเข้าปอด หมุนเวียนส่งต่อไปจนเมามาย เป็นสิ่งที่น่าเวทนาอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่ที่เห็นหรือทราบมา ก็ไม่ค่อยใส่ใจ เพราะคิดว่าคงไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร หารู้ไม่ว่ามันร้ายเสียยิ่งกว่าผงขาวหลายสิบเท่า บางคนอาจฉีดสเปรย์เข้าตู้เสื้อผ้าหรือตู้ลับ แล้วยื่นหน้าเข้าสูดดม และเห็นว่ายาเสพติดพวก "น้ำมันระเหย" นี้ มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของใช้แทบทุกครัวเรือน หรือหาซื้อได้ทุกหนทุกแห่งด้วยราคาถูก ประกอบทั้งทุกชนิดมีกลิ่นหอมที่ประชาชนทั่วไป จำนวนไม่น้อยชอบกลิ่นของมัน จึงทำให้เสพติดได้ง่าย ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะเด็ก ๆ นักเรียนทั้งชายและหญิง และประชาชนทั่วไป ยังไม่ทราบถึงพิษภัยอันร้ายแรงของมัน จึงเห็นเป็นเรื่องเล็ก "สารระเหย" เมื่อสูดดมเข้าไปในกระเพาะอาหาร ก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในหลอดโลหิต ไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่าง ๆ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และไปออกฤทธิ์โดยตรง ด้วยการไปกดสมองส่วนกลาง ดังนั้น พอสูดดมไม่กี่นาทีก็จะมีอาการเมา ลักษณะของคนเมา "สารระเหย" นั้น คล้ายคนเมาเหล้า คือ เวียนศีรษะ ตาพร่า เวลาดูอะไรจะเพ่งจ้องเหมือน "ตาขวาง" ลิ้นไก่สั้น เดินโซเซ ง่วงซึม จิตใจครึกครื้น เห่อเหิม คึกคะนอง (อาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่อุกอาจ เช่น ประกอบอาชญากรรมได้) สติปัญญาทึบ มีหูแว่ว ภาพหลอน ประสาทหลอน ความคิดแบบหลงผิด และหากสูดดมต่อไปจะค่อย ๆ หมดสติ จนถึงขั้นโคม่า และตายได้ สาเหตุตายนั้น ส่วนมากเนื่องจากสูดดมยาจนเกินขนาด ยานี้ไปกดสมองส่วนกลาง โดยเฉพาะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจ นอกจากนี้ ยานี้ไปออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และไม่เป็นจังหวะ พิษของ "สารระเหย" ต่อร่างกาย หากเสพเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดพิษร้ายต่อร่างกายได้ 2 แบบ

1. พิษระยะเฉียบพลัน

2. พิษระยะเรื้อรัง






การป้องกันการติดยาเสพติด








1. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก


2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ


3. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 252-7962 , 252-5932 และที่สำนักงานคณดะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 245-9350-9




1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้


1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น

1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น


2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย

3.1 การเจ็บป่วยทางกาย คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น

3.2 การเจ็บป่วยทางจิต ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติเช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด

3.3 การปฏิบัติไม่ถูกต้องในการใช้ยา การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริง ขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้


4. สาเหตุอื่นๆ
4.1 การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพย์ติด การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป

4.2 การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพย์ติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้

4.3 สภาพแวดล้อมทางสังคม คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้


4.4 การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อนเสพสิ่งเสพย์ติด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด


4.5 การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม








จุดเริ่มต้นของการติดสิ่งเสพติด

จุดเริ่มต้นของการติดสิ่งเสพติด






ลักษณะของผู้ติดยา

ลักษณะของผู้ติดยา


"ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือนร้อนหมดและสิ้นเปลืองคนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญมัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องมาเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือนร้อนอย่างนี้ก็เสียเงิน และเสียชื่อเสียง..."

1 ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
2 เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
3 บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
4 ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
5 ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
6 มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
7 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
8 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
9 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา ในลักษณะอาการต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ
10 สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ

:::หลักในการป้องกันหลีกเลี่ยงยาเสพติด :::

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ)
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว

ยาเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเสียก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. ประเภทกดประสาท ยาเสพติดประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วผู้เสพจะรู้สึกเฉื่อยชา อ่อน เพลียไม่อยากทำงาน ได้แก ฝิ่น เฮโรอีน สารระเหย เหล้าแห้ง เป็นต้น

2. ประเภทกระตุ้นประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะรู้สึกคึกคัก สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระตือรือล้นอยากทำงาน ตาสว่าง ได้แก่ ยาม้า ยาอี โคเคน และกระท่อม เป็นต้น

3. ประเภทหลอนประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกเพ้อฝัน สร้างวิมานในอาการ สลึมสลือ ได้แก่ ยา LSD (ปัจจุบันทำให้รูปแผ่นแสตมป์ คือทำเป็นแผ่นแสตมป์บาง ๆ เคลือบด้วย LSD เสพโดยการวางไว้ที่ลิ้น) กัญชา เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

4. ประเภทออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท หรือหลอนประสาทด้วยอาการ ของผู้เสพประเภทนี้ ระยะต้นจะมีอาการแบบหนึ่ง พอสักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปอีกแบบ เช่น กัญชา เมื่อเสพใหม่ๆ จะมีอาการ เหมือนกระตุ้นแต่พอสักระยะหนึ่งจะมีอาการเซื่องซึมลง

เมื่อก่อนนี้ยาเสพติดทีแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศเราคือเฮโรอีน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว ยาเสพติดที่กำลังแพร่ ระบาดมากที่สุดได้แก่ ยาบ้า ยาอี และกำลังแพร่ระบาดเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและสถาบันการศึกษาอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง

ยาบ้า มีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ชื่อที่เป็นทางการว่าแอมเฟตามิน ก่อนหน้านี้เรียกกันว่ายาม้าหรือยาขยันเพราะเชื่อกัน ว่าเมื่อเสพแล้วคึกเหมือนม้าที่กำลังจะออกจากซอง ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเปลี่ยน ชื่อยาม้าเป็นยาบ้า เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนทราบว่ายาชนิดนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ผู้เสพจะมีสภาพไม่ผิดกับคนบ้าหรือคนที่ เสียสติ กล่าวคือ เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะทำให้มึน ประสาทตึงเครียด จิตใจสับสน กระวนกระวาย ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการกังวล ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ทำให้ขาดสติ และเป็นต้นเหตุของการเกิด อุบัติเหตุและกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายเพื่อน หรือใช้อาวุธจี้เด็กเป็นตัวประกัน เป็นต้น
ส่วน ยาอี นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอ็คซ์ตาซี่ (ECSTASY) เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จัดเป็นวัตถุออก ฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 และจัดอยู่ในสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1971 ยานี้มักจะพบอยู่ในรูปของแคบซูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสีสรรต่าง ๆ สวยงาม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดกลมแบนสี ขาว น้ำตาล ชมพู ไม่ค่อยพบในลักษณะที่เป็นผง ในประเทศเรารู้จักกันในนามของยา "E" หรือ "XTC" หรือ "ADAM" มีชื่อทาง การค้าของกลุ่มผู้ใช้หลายชื่อ เช่น ESSENCE/LOVE DOVERS/WHITE DOVERS/DISGO BURGERS/NEW YORKERS DISGO BISCUITS และ CALIFORNIAN SUNRISE เป็นต้น ยาอีนี้มีฤทธิ์กระตุ้นเข่นเดียวกับยาบ้า จะออกฤทธิ์หลังเสพเข้าไปแล้วประมาณ 20-30 นาที และมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง

ประเภทและชนิดของสารเสพติด










ประเภทของสารเสพติดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม เป็นต้น
2 สิ่งเสพติดสังเคราะห์ เกิดจากมนุษย์จัดทำขึ้น เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาบ้า เป็นต้น

ชนิดของสิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทย
สิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ดังนี้
1. สิ่งเสพติดประเภทฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่





1.1 ฝิ่น เป็นพืชล้มลุก สารเสพติดได้จากยางฝิ่นดิบ ซึ่งกรีดจากผล มีลักษณะเหนียว สีน้ำตาลไหม้
1.2 มอร์ฟีน เป็นสารแอลคาลอยด์สกัดจากฝิ่น เป็นผลึกสีขาวนวล มีฤทธิ์รุนแรงกว่าฝิ่น 10 เท่า
1.3 เฮโรอีน เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน มีพิษรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า

2. สิ่งเสพติดประเภทยานอนหลับและยาระงับประสาท ได้แก่
2.1 เชกโคนาล เป็นแคปซูลสีแดงเรียกว่า เหล้าแห้ง
2.2 อโมบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีฟ้าที่เรียกว่า นกสีฟ้า
2.3 เพนโทบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีเหลืองที่เรียกว่า เสื้อสีเหลือง


3. สิ่งเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาทมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ยาแก้ง่วง ยาขยัน ยาบ้าเป็นต้นยาบ้าหรือแอมเฟตามีนมีลักษณะเป็นผงมีผลึกสีขาวบรรจุในแคปซูลหรืออัดเม็ดอาจพบปลอมปนในยาคลอร์เฟนิรามีนพาราเซตามอล










ความหมายของสารเสพติด



สารเสพติดคืออะไร....?


สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ

วิธีการเสพยาเสพติดกระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
๑ สอดใต้หนังตา
๒ สูบ
๓ ดม
๔ รับประทานเข้าไป
๕ อมไว้ใต้ลิ้น
๖ ฉีดเข้าเหงือก
๗ ฉีดเข้าเส้นเลือด
๘ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
๙ เหน็บทางทวารหนัก