วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ลักษณะของผู้ติดยา

ลักษณะของผู้ติดยา


"ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือนร้อนหมดและสิ้นเปลืองคนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญมัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องมาเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือนร้อนอย่างนี้ก็เสียเงิน และเสียชื่อเสียง..."

1 ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
2 เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
3 บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
4 ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
5 ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
6 มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
7 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
8 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
9 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา ในลักษณะอาการต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ
10 สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ

:::หลักในการป้องกันหลีกเลี่ยงยาเสพติด :::

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ)
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว

ยาเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเสียก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. ประเภทกดประสาท ยาเสพติดประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วผู้เสพจะรู้สึกเฉื่อยชา อ่อน เพลียไม่อยากทำงาน ได้แก ฝิ่น เฮโรอีน สารระเหย เหล้าแห้ง เป็นต้น

2. ประเภทกระตุ้นประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะรู้สึกคึกคัก สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระตือรือล้นอยากทำงาน ตาสว่าง ได้แก่ ยาม้า ยาอี โคเคน และกระท่อม เป็นต้น

3. ประเภทหลอนประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกเพ้อฝัน สร้างวิมานในอาการ สลึมสลือ ได้แก่ ยา LSD (ปัจจุบันทำให้รูปแผ่นแสตมป์ คือทำเป็นแผ่นแสตมป์บาง ๆ เคลือบด้วย LSD เสพโดยการวางไว้ที่ลิ้น) กัญชา เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

4. ประเภทออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท หรือหลอนประสาทด้วยอาการ ของผู้เสพประเภทนี้ ระยะต้นจะมีอาการแบบหนึ่ง พอสักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปอีกแบบ เช่น กัญชา เมื่อเสพใหม่ๆ จะมีอาการ เหมือนกระตุ้นแต่พอสักระยะหนึ่งจะมีอาการเซื่องซึมลง

เมื่อก่อนนี้ยาเสพติดทีแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศเราคือเฮโรอีน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว ยาเสพติดที่กำลังแพร่ ระบาดมากที่สุดได้แก่ ยาบ้า ยาอี และกำลังแพร่ระบาดเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและสถาบันการศึกษาอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง

ยาบ้า มีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ชื่อที่เป็นทางการว่าแอมเฟตามิน ก่อนหน้านี้เรียกกันว่ายาม้าหรือยาขยันเพราะเชื่อกัน ว่าเมื่อเสพแล้วคึกเหมือนม้าที่กำลังจะออกจากซอง ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเปลี่ยน ชื่อยาม้าเป็นยาบ้า เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนทราบว่ายาชนิดนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ผู้เสพจะมีสภาพไม่ผิดกับคนบ้าหรือคนที่ เสียสติ กล่าวคือ เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะทำให้มึน ประสาทตึงเครียด จิตใจสับสน กระวนกระวาย ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการกังวล ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ทำให้ขาดสติ และเป็นต้นเหตุของการเกิด อุบัติเหตุและกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายเพื่อน หรือใช้อาวุธจี้เด็กเป็นตัวประกัน เป็นต้น
ส่วน ยาอี นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอ็คซ์ตาซี่ (ECSTASY) เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จัดเป็นวัตถุออก ฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 และจัดอยู่ในสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1971 ยานี้มักจะพบอยู่ในรูปของแคบซูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสีสรรต่าง ๆ สวยงาม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดกลมแบนสี ขาว น้ำตาล ชมพู ไม่ค่อยพบในลักษณะที่เป็นผง ในประเทศเรารู้จักกันในนามของยา "E" หรือ "XTC" หรือ "ADAM" มีชื่อทาง การค้าของกลุ่มผู้ใช้หลายชื่อ เช่น ESSENCE/LOVE DOVERS/WHITE DOVERS/DISGO BURGERS/NEW YORKERS DISGO BISCUITS และ CALIFORNIAN SUNRISE เป็นต้น ยาอีนี้มีฤทธิ์กระตุ้นเข่นเดียวกับยาบ้า จะออกฤทธิ์หลังเสพเข้าไปแล้วประมาณ 20-30 นาที และมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น